Loading...

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 (นครราชสีมา)

Office of Environment and Pollution Control 11 (Nakhon Ratchasima)

ขนาดอักษร
เปลี่ยนการแสดงผล C C C
TH EN

ตรวจสอบผลกระทบน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จังหวัดนครราชสีมา

ตรวจสอบผลกระทบน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จังหวัดนครราชสีมา
ตรวจสอบผลกระทบน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 หน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่ 11 (นครราชสีมา) โดยนายบัญชา ขุนสูงเนิน ผู้อำนวยการส่วนตรวจและบังคับใช้กฎหมาย และนายยศฐวพงศ์ วัชรมโนภาส นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และองค์การบริหารส่วนตำบลช้างทอง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีประชาชน ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา แจ้งข้อร้องเรียนว่าพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากน้ำเสียที่ไหลซึมมาจากระบบบำบัดน้ำเสียของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีผลสรุป ดังนี้
1. สภาพพื้นที่บริเวณที่ได้รับความเสียหายประกอบด้วยพื้นที่ทำนาซึ่งมีน้ำท่วมขัง และพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับบ่อพักน้ำเสียของฟาร์มเลี้ยงไก่
2. ตรวจพิสูจน์การรั่วซึมของน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์โดยนำรถแบคโฮขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2 เมตร บริเวณแนวเขตระหว่างฟาร์มกับพื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับผลกระทบ และขุดดินบริเวณพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเป็นร่องลึกประมาณ 2 เมตร ปล่อยให้น้ำไหลซึมเข้าไปในหลุม และตรวจวัดคุณภาพน้ำในบ่อบำบัดของฟาร์ม เปรียบเทียบกับตัวอย่างน้ำในหลุมสำรวจ กับตัวอย่างน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับผลกระทบ พบว่า
2.1 น้ำในบ่อบำบัดของฟาร์มมีค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด ระหว่าง 5,300 – 8,310 มิลลิกรัม/ลิตร น้ำในหลุมสำรวจบริเวณระหว่างบ่อบำบัดน้ำเสียกับพื้นที่ทำการเกษตร มีค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด ระหว่าง 190 – 1,290 มิลลิกรัม/ลิตร และน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับผลกระทบมีค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด ระหว่าง 180 - 610 มิลลิกรัม/ลิตร
2.2 น้ำในบ่อบำบัดของฟาร์มมีค่าแอมโมเนียทั้งหมด ระหว่าง 5.64 – 44.59 มิลลิกรัม/ลิตร น้ำในหลุมสำรวจบริเวณระหว่างบ่อบำบัดน้ำเสียกับพื้นที่ทำการเกษตร มีค่าแอมโมเนียทั้งหมด ระหว่าง 0.22 – 3.52 มิลลิกรัม/ลิตร และน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับผลกระทบมีค่าแอมโมเนียทั้งหมด ระหว่าง 0.26 – 2.13 มิลลิกรัม/ลิตร
3. สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 (นครราชสีมา) จะส่งผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำแจ้งศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประชุมหารือแนวทางชดเชยเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ทำการเกษตรของประชาชน รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการ ต่อไป

แกลเลอรี่